HORMONE TESTING AND THERAPY

HORMONE TESTING AND THERAPY

“ดูอ่อนเยาว์ สุขภาพแข็งแรงสมบุรณ์แบบสูงสุด ด้วยฮอร์โมนบำบัด”

ฮอร์โมน คือ สารเคมีชนิดหนึ่งในร่างกายที่สร้างมาจากต่อมไร้ท่อ ทำหน้าที่ประสานการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เมื่อเรามีอายุมากขึ้นร่างกายจะผลิตฮอร์โมนได้ลดลง อาจเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนเนื่องมาจากต่อมไร้ท่อจะทำงานลดลง ทำให้ร่างกายทำงานได้ผิดปกติ

ทั้งนี้ Anti-aging Medicine เป็นวิทยาการการแพทย์สมัยใหม่ที่ช่วยในการชะลอวัย โดยการรักษาระดับฮอร์โมนให้เท่ากับผู้ที่มีอายุ 20-30 ปี ฮอร์โมนที่สำคัญของร่างกายได้แก่ ฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนต้านเครียด (cortisal , DHEA) โกรธฮอร์โมน และ ไทรอยด์ฮอร์โมน

Growth Hormone 

เป็นฮอร์โมนที่ใช้ในการซ่อมแซมร่างกาย และเป็นตัวกำหนดความเป็นหนุ่มสาว โดยหลังจากอายุ 25 ปี ฮอร์โมนชนิดนี้จะผลิตได้น้อยลง ทำให้ร่างกายจะร่วงโรยไปตามวัย การนอนหลับมีความสำคัญต่อการหลั่ง Growth Hormone เป็นอย่างมาก เพราะช่วงเวลาเที่ยงคืนถึงตีสาม ร่างกายจะหลั่ง Growth Hormone ในปริมาณมาก หากไม่สามารถนอนหลับได้ในช่วงเวลานี้ จะส่งผลต่อการซ่อมแซมร่างกาย ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยตามมา

ฮอร์โมน DHEA

เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมหมวกไต ทำหน้าที่ควบคุมการผลิตฮอร์โมน 18 ตัวในร่างกาย ผลิตฮอร์โมนต้านความเครียด ช่วยลดระดับความดันในเลือด ลดระดับไขมันสะสม เสริมสร้างกระดูก ควบคุมน้ำหนัก เสริมสร้างการทำงานของสมอง เสริมภูมิคุ้มกัน ลดภูมิแพ้ และทำให้แผลหายเร็ว

ไทรอยด์ (THIROID) 

เป็นตัวควบคุม Metabolism ที่สำคัญของร่างกาย ช่วยในการเผาผลาญ การเคลื่อนไหวของร่างกายและควบคุมสมาธิ ถ้ามีมากเรียกว่า ไฮเปอร์ (Hyper) ถ้ามีน้อยเรียกว่า ไฮโป (Hypo) จะทำให้ขี้เกียจ เบื่อและไม่อยากทำงาน เพราะร่างกายมีพลังงานน้อย อ้วนง่ายเพราะการเผาผลาญต่ำ เมื่อเรามีอายุมากขึ้นจะทำให้มีแนวโน้มที่จะเป็นไฮโปไทรอยด์ เนื่องจากต่อมไร้ท่อทุกต่อมมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ไทรอยด์จึงทำงานได้มีประสิทธิภาพในการทำงานลดลงไปด้วย

ฮอร์โมนเพศหญิง (ESTROGEN) 

ทำให้เกิดความอ่อนเยาว์ มีผิวพรรณเนียนนุ่ม มีเต้านม มีสะโพก และป้องกันเรื่องความจำเสื่อม ควบคุมการสร้างคอเลสเตอรอล ซึ่งเป็นตัวช่วยไม่ให้เกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือด กระตุ้นให้เกิดประจำเดือน ช่วยให้ช่องคลอดชุมชื้น ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและช่วยลดภาวะกระดูกพรุน หากเอสโตรเจนมีปริมาณลดลงหรือหมดไป ร่างกายจะเกิดอาการที่ตรงข้ามกับที่กล่าวมาทั้งหมด

ฮอร์โมนเพศชาย (TESTOSTERONE) 

ทำหน้าที่กำหนดความรู้สึกและอารมณ์ของเพศชาย กระตุ้นให้แสดงลักษณะความเป็นชายและความต้องการทางเพศ การสร้างเชื้ออสุจิ ปริมาณของผมและขนตามร่างกาย การสร้างกล้ามเนื้อและกระดูก โดยสมองจะควบคุมการสร้างเทสโทสเตอร์โรนซึ่งผลิตจากลูกอัณฑะ ภาวะเทสโทสเตอโรนต่ำหรือภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ อาจทำให้เกิดอาการเหล่านี้อาการต่างๆ ดังนี้

– ความต้องการทางเพศลดลง
– อวัยวะเพศชายแข็งตัวได้ไม่สมบูรณ์
– ปริมาณของตัวอสุจิมีจำนวนน้อย

– ขนาดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง อารมณ์เปลี่ยนแปลง และมีลูกอัณฑะที่เล็กลงด้วย

สาเหตุของภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล 

การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในช่วงวัยรุ่น หรือวัยใกล้หมดประจำเดือน (วัยทอง)

-โรคเบาหวาน ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์หรือต่อมใต้สมอง (Pituitary) หรือความผิดปกติอื่นๆ

-น้ำหนักเกินมาตรฐาน

-ภาวะเครียด

-การออกกำลังกายหนักเกินไป หรือการไม่ออกกำลังกาย

-ความผิดปกติจากการรับประทานอาหาร เช่น โรคเบื่ออาหาร (Anorexia nervosa) เป็นต้น

การตรวจและรักษาภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล

หากท่านพบว่ามีอาการผิดปกติเหล่านี้ สามารถเจาะเลือดตรวจหาภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล และรับการบำบัดที่เหมาะสมสำหรับท่านได้ โดยเริ่มจากการปรับพฤติกรรม ทั้งเรื่องการปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การปรับเวลานอน การจัดการกับความเครียด และหากมีอาการมากอาจมีการใช้ฮอร์โมนทดแทนภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ร่วมด้วย